ประวัติของโรงเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิกัด NP 790664 มีพื้นที่รวม 40 ไร่
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2534 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว โดยอาศัยศาลาการเปรียญสำนักสงฆ์บ้านท่าวังหิน เป็นสถานที่ให้ความรู้แก่เด็กในหมู่บ้านและเด็กในพื้นที่ใกล้เคียง สาเหตุที่ต้องแยกสาขาออกมา สืบเนื่องมาจากประชาชนเห็นว่าการให้บุตรหลานเดินทางไปเรียนที่ โรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เป็นระยะทางประมาณ 4-5 กิโลเมตร ต้องข้ามแม่น้ำปราณบุรี ซึ่งมีความยากลำบากในการเดินทาง บางครั้งฝนตกหนัก เด็กนักเรียนไม่สามารถ เดินทางไปโรงเรียนได้ เนื่องจากอันตรายจากน้ำป่าไหลหลาก ประชาชนและคณะกรรมการหมู่บ้านจึงลงความเห็นให้แยกสาขาออกมา โดยได้ทำการสำรวจเด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ การศึกษาภาคบังคับ และเด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำปราณบุรี และคนละหมู่บ้านของหมู่บ้านเขาจ้าว ให้ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านท่าวังหิน โดยทำหนังสือร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เริ่มแรกเปิดทำการสอนมีนักเรียน จำนวน 53 คน มีครู ตำรวจตระเวนชายแดน 3 นาย เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เมื่อปี 2535 ประชาชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน จึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้านท่าวังหิน จำนวน 40 ไร่ (เขตปลอดภัยในราชการทหาร “ค่ายธนะรัชต์” อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และได้ทำการก่อสร้างอาคารถาวรขึ้น จำนวน 1 หลัง 7 ห้องเรียน โดยได้รับการ สนับสนุนและร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนและผู้มีจิตศรัทธามอบวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้าง เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จได้มาทำการจัด การเรียนการสอน ที่อาคารเรียนถาวร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 จนถึงปัจจุบัน และได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 มีอาคารเรียนและอาคารประกอบการ 5 อาคารหลัก คือ อาคารเรียนถาวร จำนวน 1 หลัง 7 ห้องเรียน ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และคณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง ซึ่งการก่อสร้างอาคาร ได้รับความร่วมมือจากคุณสุชาติ - คุณวันทนี ศรีทองกิติกุล ราษฎรตลาดปราณบุรี ได้มอบวัสดุอุปกรณ์อาคารเก่าที่ได้ทำการรื้อถอน ไปใช้ในการจัดสร้าง อาคารเอนกประสงค์ประจำโรงเรียน ต่อมาได้ทำการจัดสร้างอาคารโรงอาหาร โรงครัว จำนวน 1 หลัง ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกัน จัดสร้าง และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดสร้างอาคารสหกรณ์ จำนวน 1 หลัง ต่อมา บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ได้สนับสนุนงบประมาณ จัดสร้างอาคารเรียน จำนวน 1 หลัง 4 ห้องเรียน โดยใช้ชื่ออาคารว่า “อาคารเรียนต้นกล้าอาวียองซ์”
ปัจจุบันเปิดทำการสอน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 68 คน เป็นชาย 36 คน เป็นหญิง 32 คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน 7 คน ผู้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ครูตามโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา 1 คน โดยมี ดาบตำรวจวิสุทธิ์ ปรางทอง ทำหน้าที่ครูใหญ่
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยม ประชาชนในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน จำนวน 5 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2541 (218)
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 (454)
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 (578)
ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558 (767)
ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 (982)
วิสัยทัศน์โรงเรียน : ภายในปี พ.ศ. 2565 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน จัดการศึกษาโดยเน้นให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม อ่านออกเขียนได้ สุขภาพร่างกาย สมบูรณ์ นำชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และงานตามแผนพัฒนาเด็ก และเยาวชน ในถิ่นทุรกันดาร ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2569
ปรัชญาโรงเรียน : สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง
โครงการพระราชดำริ
1. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ครูรับผิดชอบ ด.ต.นิรุตน์ เกตุน้อย
เป็นโครงการแรกที่เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2523 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันทำการเกษตรในโรงเรียน แล้วนำผลผลิตที่ได้ มาประกอบเป็น อาหาร กลางวัน โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงิน สิ่งของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ วัสดุอุปกรณ์การเกษตร และอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียน ในโครงการ การดำเนินงานของโครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้ว ยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านโภชนาการและด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ บริโภคตลอดปีการศึกษาโดยใช้ผลผลิตการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร
กิจกรรมที่สำคัญ :
1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
2. ผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ทั้งเนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง พืชผักและผลไม้ที่หลากหลายเหมาะสมกับท้องถิ่นโดยเฉพาะกล้วยและมะละกอ โดยใช้รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานและวิธี ให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน
3. ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้ เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน
4. ประกอบอาหารกลางวันและอาหารเสริมที่มีคุณค่า และถูกสุขลักษณะ
5. เฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ รวมทั้งการตรวจสุขภาพและปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียนและของชุมชน
6. จัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการ
2. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงบุณยวีร์ โรจนอุดมไพศาล
เป็นโครงการที่ดำเนินการขี้น ในปี พ.ศ. 2526 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารซึ่งประสบกับความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน ให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับอย่างถูกต้อง ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีที่จะช่วยให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาการอย่างดี พร้อมที่จะไปศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้เท่าเทียมกับคนอื่นๆ และช่วยให้ครูโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งไม่ได้มีอาชีพครูโดยตรงทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน
กิจกรรมที่สำคัญ : ปรับปรุงอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เกื้อหนุนในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน พร้อมให้นักเรียนศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
3. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงจริญญา หอมเนียม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงปัญหาการระบาดของโรคคอพอกเนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีน ทั้งจาก รายงานของกระทรวงสาธารณสุข และจากการที่พระองค์ทรงพบเห็นในระหว่างเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเด็กนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงมีพระราชดำริที่จะดำเนิน การเพื่อ ช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ โดยคาดหวังว่า หากมี การ ดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องแล้ว ก็จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศโดยส่วนรวมได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อควบคุมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดาร
กิจกรรมที่สำคัญ :
1.หยดน้ำเสริมไอโอดีนให้นักเรียนดื่มเป็นประจำทุกวัน
2.แจกเกลือไอโอดีนให้นักเรียนไปประกอบอาหารที่บ้าน
3. ร่วมมือกับสาธารณสุขในพื้นที่ตรวจโรคคอพอกและให้ความรู้แก่ประชาชน
4. โครงการส่งเสริมสหกรณ์ ครูรับผิดชอบ ด.ต.สุรินทร์ ประคำทอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่า การปลูกฝังสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชน โดยเริ่มจากโรงเรียนเป็นอันดับแรก จะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ในกลุ่มของเด็กนักเรียน ตลอดจนครูและประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม การรวมกลุ่มกันในการดำเนิน กิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น จึงมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมตำรวจ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภู่ต่าง อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2534 ให้ดำเนินการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และมีพระราชกระแสกับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2534 ให้ส่งเสริมวิธีสหกรณ์ให้แพร่หลายไปยังเด็กนักเรียน จึงได้เริ่มดำเนินโครงการการส่งเสริมสหกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะด้านสหกรณ์ และสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับ อุดมการณ์สหกรณ์ให้แก่เด็กนักเรียน
กิจกรรมที่สำคัญ :
1. จัดการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์
2. จัดให้มีกิจกรรมสหกรณ์ภาคปฏิบัติ เช่น กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ และกิจกรรมการเกษตร เพื่อเป็นการฝึกทักษะของนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ตามความพร้อมของแต่ละโรงเรียน
3. จัดให้มีการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับสหกรณ์ตัวอย่าง
5. โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ ครูรับผิดชอบ ส.ต.อ.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย
โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร เปิดทำการสอนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบกับนักเรียนมีฐานะทางบ้านยากจน และไม่มีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับสูงในท้องถิ่น ทำให้เด็กนักเรียนเมื่อจบการศึกษาแล้วส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสศึกษาต่อ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการคัดเลือกนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีฐานะยากจน แต่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี พอที่จะสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้ ให้เป็น “นักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ ” ซึ่งต้องผ่านการคัดเลือกตามลาดับขั้นที่กำหนด โดยจะพระราชทานค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นในระหว่างการเรียนไปจนกว่านักเรียนเหล่านี้จะสำเร็จการศึกษา ตามความสามารถ และความเหมาะสมปัจจุบันมีการดาเนินโครงการตามพระราชดาริในท้องถิ่นทุรกันดารและในพื้นที่โครงการตามพระราชดาริ จำนวน 216 หมู่บ้านใน 47 จังหวัด โปรดเกล้าฯ รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนและโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดน่าน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน มีนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ จำนวนมากขึ้นตามลำดับ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนจากโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น ตามความสามารถและความเหมาะสมตามระดับสติปัญญา
2. เพื่อให้นักเรียนจากถิ่นทุรกันดาร สามารถนาความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่น ของตนเอง ให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
3. เพื่อปลูกฝังและพัฒนานักเรียนโรงเรียนในถิ่น ทุรกันดารให้เห็นคุณค่าของการศึกษาความสานึกในความเป็นคนไทยมีความรักถิ่นฐาน รักประเทศ และรักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข
4. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนตามโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารให้มีความเจริญก้าวหน้าทั่วกัน
กิจกรรมที่สำคัญ : คัดเลือกนักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 เข้าเป็นนักเรียนพระราชานุเคราะห์ ติดตามตรวจเยี่ยมนักเรียนที่บ้านเดือนละ 1-2 ครั้ง
6. โครงการฝึกอาชีพ ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงชนัญภัค อ้อนวอน
เป็นโครงการที่โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการในปี พ.ศ.2531 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกอาชีพให้กับศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ไม่อาจศึกษาในระดับสูงต่อไปได้ และเน้นให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมสำหรับท้องถิ่นนั้นๆ ในระยะเริ่มแรกให้จัดทำในโรงเรียนทดลองก่อนภาคละ 1 โรง โดยมีกรมอาชีวศึกษา(ขณะนั้น) รับไปสนองพระราชดำริฯ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
2. เพื่อให้เยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมีวิชาชีพติดตัวและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
กิจกรรมสำคัญ
1. ฝึกทักษะและความรู้ด้านวิชาชีพให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียน
2. ส่งเสริมอาชีพให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น
3. ส่งเสริมความร่วมมือจากภาคเอกชน๔. ดำเนินงานฝึกอาชีพในศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
7. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครูรับผิดชอบ ส.ต.อ.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ มีพระราชดำริให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดการเรียนการสอนด้าน สิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนของโครงการฯ เริ่มตั้งแต่การทำหลักสูตร การฝึกอบรมครูผู้สอน การจัดหาสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ รู้คุณค่า ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่น ป่าไม้ถูกทำลาย พิษภัยของควันไฟ จากการเผาป่า เรียนรู้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในการช่วย อนุรักษ์ดินและนํ้า การอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรมพืช เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังทรงให้มีการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชน ให้ตระหนัก และ มีจิตสำนึกร่วมกัน และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตน
วัตถุประสงค์ : เพื่อปลูกฝังให้เด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่สำคัญ : จัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยสาธิตและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น
8. โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร ครูรับผิดชอบ ด.ต.หญิงจริญญา หอมเนียม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงห่วงใย เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารและได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและ เยาวชน ในถิ่นทุรกันดารฉบับแรกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2535 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการทำงานพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ได้จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตาม พระราชดำริฉบับที่ 5 (พ.ศ.2560-2569) เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรกเกิดจนถึง 3 ปี ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารได้รับบริการที่เหมาะสมและได้รับความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ
กิจกรรมที่สำคัญ : ร่วมกับ จนท.อนามัย ในพื้นที่ ให้ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพอนามัยแก่หญิงมีครรภ์ และ สนับสนุนอาหารเสริม นม วิตามิน ให้กับหญิงมีครรภ์
ผลิตภัณฑ์โรงเรียน : โครงการแปรรูปสับปะรดกวน
เนื่องจากในชุมชนบ้านท่าวังหิน หมู่ 4 ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรปลูกสับปะรดเป็นจำนวนมาก บางช่วงบางปี ได้รับผลกระทบราคาตกต่ำและล้นตลาด ขายไม่ได้ต้องนำไปเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงวัว โครงการฝึกอาชีพเป็นหนึ่งใน ๘ โครงการพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้คิดวิธีการแก้ปัญหาโดยนำสับปะรดของชาวบ้านในชุมชนที่เหลือจากการขายให้กับโรงงาน นำมาแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ สับปะรดกวน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและชุมชนในโรงเรียนตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหินให้มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ปัจจุบันมี นักเรียนรวมทั้งสิ้น 68 คน เป็นชาย 36 คน หญิง 32 คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน 7 นาย ผู้ดูแลเด็กเล็ก 2 คน ครูตามโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา 1 คน
ลำดับ |
ยศ - ชื่อ - นามสกุล |
คุณวุฒิ |
สายงาน |
ความรับผิดชอบ |
ภาพถ่าย |
1 |
ด.ต.วิสุทธิ์ ปรางทอง |
ม.6 |
บริหารงานบุคคลกร |
-ครูใหญ่ฯ/บริหารงานโครงการฯ |
|
2 |
ด.ต.สุรินทร์ ประคำทอง |
ปริญญาตรี(ศศ.บ.) |
งบประมาณและแผน |
- ผู้ช่วยครูใหญ่
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
- ผู้ช่วยโครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
|
3 |
ด.ต.หญิงจริญญา หอมเนียม |
ปริญญาโท (วท.ม.) |
กิจกรรมนักเรียน |
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
- โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
-โครงการควบคุมโรคขาดสาร
ไอโอดีน |
|
4 |
ด.ต.หญิงบุณยวีร์ โรจนอุดมไพศาล |
ปริญญาตรี (ร.บ.) |
วิชาการ ธุรการ |
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
- โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
-โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ |
|
5 |
ด.ต..นิรุตน์ เกตุน้อย |
ปริญญาตรี(ศศ.บ.) |
บริหารทั่วไป |
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
- โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
|
6 |
ส.ต.อ.หญิงเอื้อมพร ไหลเรี่ย |
ปวช. |
กิจกรรมนักเรียน |
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
-โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม |
|
7 |
ส.ต.อ.หญิงชนัญภัค อ้อนวอน |
ปวช. |
กิจกรรมนักเรียน |
- ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
- โครงการฝึกอาชีพ |
|
8 |
นางสาวพัชรี หอมเนียม |
ม.6 |
ผู้ช่วยครูบริหารทั่วไป |
-ครูประจำชั้นอนุบาล 2 |
|
9 |
นางสาวภาวิณี พวงมาลัย |
ปริญญาตรี(คบ.) |
ผู้ช่วยครูธุรการ |
-ครูประจำชั้นอนุบาล 1 ,3 |
|
10 |
นางสาวพิมพ์อร คงมั่น |
ปริญญาตรี(คบ.) |
ผู้ช่วยครูวิชาการ |
-ครูสอนภาษาอังกฤษ |
|
1. นายประสพโชค ชูช่วย |
ประธานกรรมการ |
2. นายภูวนารถ ไทรชมภู |
ผู้แทนผู้ปกครอง |
3. ด.ต.หญิงบุณยวีร์ โรจนอุดมไพศาล |
ผู้แทนครู |
4. นายมงคล อ่อนอก |
ผู้แทนองค์กรชุมชน |
5. นายสมชาย จิตรแจ่ม |
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
6. นางศรีนวล ชูช่วย |
ผู้แทนศิษย์เก่า |
7. นายทิศ หลวงทิพย์ |
ผู้แทนองค์กรศาสนา |
8. นายสมบัติ พัฒนา |
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
9. ด.ต.วิสุทธิ์ ปรางทอง |
กรรมการและเลขานุการ |
การคมนาคม : สภาพเส้นทางสามารถเดินทางเข้า - ออก ได้ทุกฤดูกาล
ลิงค์ที่น่าสนใจ
|